ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา
แผนปฏิบัติการประจำปีศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาสกลนคร จังหวัดสกลนครปีการศึกษา 2563
สภาพทั่วไปของสถานศึกษา
ตั้งอยู่เลขที่ 448 หมู่ที่ 9 ถนนสกล-นาแก ชุมชนนาอ้อย ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร รหัสไปรษณีย์ 47000 โทรศัพท์ 042-971136
วิทยาลัยสารพัดช่างสกลนคร ได้ประกาศจัดตั้งเมื่อ วันที่ 5 เมษายน 2537 ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จ
เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2539 มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 31 ไร่ ตั้งอยู่เลขที่ 448 หมู่ที่ 9 ถนนสกล-นาแก ชุมชนนาอ้อย ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร รหัสไปรษณีย์ 47000
วิทยาลัยสารพัดช่างสกลนคร เริ่มเปิดทำการสอน ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2539 โดยมีหน้าที่จัดการเรียนการสอนวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้น เป็นหน้าที่หลัก ซึ่งได้จัดการเรียนการสอนภายในและภายนอกวิทยาลัยฯ เพื่อให้สอดคล้องกับงานโครงการต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมาย เช่น โครงการฝึกอาชีพให้แก่เด็กและเยาวชนในท้องถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี โครงการฝึกอบรมอาชีพให้แก่ราษฎรร่วมกับส่วนราชการอื่น และโครงการเฉพาะกิจที่ได้รับมอบหมายจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา การจัดการศึกษาโดยทั่วไปของวิทยาลัยฯ จะเป็นการจัดการศึกษานอกระบบในสาขาวิชาที่เหมาะสมกับการประกอบอาชีพอิสระในท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศชาติ
ปัจจุบันได้ ปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจเป็น วิทยาลัยอาชีวศึกษาสกลนคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงนาม ณ วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๕
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง
- เพื่อฝึกวิชาชีพให้แก่ประชาชนและผู้สนใจในท้องถิ่น
- เพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานในท้องถิ่นให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
- เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลตามแผนพัฒนาการศึกษาของชาติ
ข้อมูลด้านอาคารสถานที่
ชื่อสถานศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาสกลนคร
ชื่อภาษาอังกฤษ Sakon Nakhon Vocational College
ที่ตั้งสถานศึกษา เลขที่ 448 หมู่ที่ 9 ถนน สกลนคร-นาแก ชุมชนนาอ้อย ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอ/เขต เมืองสกลนคร รหัส 47000
โทรศัพท์ 042-971136
เว็ปไซต์ http://www.snkvc.ac.th/
อีเมล snkvc.datacenter@gmail.com
โครงสร้างศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา
- ประธานศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา มีหน้าที่ ส่งเสริม สนับสนุนให้คำปรึกษาร่วมกับคณะกรรมการดำเนินงานกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ และกำกับดูแล ติดตามประเมินผลการบ่มเพาะให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด
- รองประธานศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา มีหน้าที่ช่วยเหลือประธานศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการในการส่งเสริม สนับสนุน ให้คำปรึกษาร่วมกับคณะกรรมการดำเนินงาน กำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ และกำกับดูแล ติดตามประเมินผลการบ่มเพาะให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด
- คณะกรรมการที่ปรึกษาภายนอก มีหน้าที่ ให้คำปรึกษา ร่วมกับคณะกรรมการดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด
- คณะกรรมการที่ปรึกษาภายใน มีหน้าที่ ให้คำปรึกษา ร่วมกับคณะกรรมการดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด
- หัวหน้าศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา มีหน้าที่ บริหารจัดการศูนย์บ่มเพาะฯ ประสานงาน สร้างความร่วมมือกับฝ่ายต่างๆ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษากำหนด ดำเนินการบ่มเพาะกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนประสานงานในการจัดหาที่ปรึกษาธุรกิจที่ปรึกษาบัญชีให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ประสานงานกับสถานบันการเงินและหน่วยงานอื่นๆ เพื่อหาแหล่งเงินทุนสนับสนุนกลุ่มเป้าหมาย ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ตามความต้องการของแต่ละกลุ่ม รับผิดชอบอาคาร สถานที่ วัสดุ ครุภัณฑ์ เครื่องมือและอุปกรณ์ในศูนย์บ่มเพาะฯ ดำเนินการดูแลการเบิกจ่ายงบประมาณ และเงินราได้ต่าง ๆ ให้เป็นไปตามระเบียบทางราชการ และที่คณะกรรมการบริหารศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษากำหนด สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงาน และงานอื่น ๆ ตามที่สถานศึกษามอบหมาย
- คณะกรรมการฝ่ายฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ มีหน้าที่ ประสารงานในการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ จัดทำตารางการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการตามหลักสูตรของสำนักมาตรฐานอาชีวศึกษาและวิชาชีพ จัดหาวิทยากร สร้างเครือข่ายธุรกิจและกำหนดกิจกรรมที่เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้เข้ารับการบ่มเพาะการเป็นผู้ประกอบการ ประสานงานกับแผนกวิชาต่าง ๆ เพื่อรับสมัครผู้เรียนที่มีความสนใจในการเข้ารับการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนในการเป็นผู้ประกอบการ และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้การจัดอบรมได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ สรุปผลรายงานผลการดำเนินงาน และปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่สถานศึกษามอบหมาย
- คณะกรรมการฝ่ายบ่มเพาะ มีหน้าที่ สรรหา พิจารณาคัดเลือกผู้เรียนที่มีศักยภาพหรือผู้ที่สนใจเข้ารับการบ่มเพาะการเป็นผู้ประกอบการ “พี่เลี้ยง” ให้การดูแลและให้คำนำปรึกษาในการทำธุรกิจแก่ผู้เข้ารับการบ่มเพาะการเป็นผู้ประกอบการ ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องและงานต่าง ๆ เพื่อจัดกิจกรรมการบ่มเพาะผู้ประกอบการ สรุปผลและรายงานการดำเนินงาน และ ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่สถานศึกษามอบหมาย
- ครูที่ปรึกษาธุรกิจ มีหน้าที่ ให้คำปรึกษาในการจัดตั้งบริษัท การเขียนแผนธุรกิจ การจดทะเบียนธุรกิจ การปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามระเบียบของสถานศึกษา และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง นิเทศติดตามการปฏิบัติงาน ให้คำแนะนำ และช่วยแก้ไขปัญหาการดำเนินงานขอผู้เข้ารับการบ่มเพาะการเป็นผู้ประกอบการในด้านการจัดการธุรกิจ การจัดทำบัญชี การตลาด การเงิน และอื่นๆ ประสานงานจัดหาที่ปรึกษาเฉพาะเรื่อง เพื่อให้คำปรึกษาปัญหาเชิงลึกเฉพาะราย ให้คำปรึกษาแนะนำการจัดทำเอกสารายงาน สรุปผลการประกอบการ การเขียน Best Practice และเอกสารเพื่อการรายงานต่อสถานศึกษาจัดทำแผนการนิเทศและรายงานผลการนิเทศตลอดภาคเรียน หรือตามเวลาที่กำหนดและเมื่อสิ้นสุดการบ่มเพาะการเป็นผู้ประกอบการเสนอสถานศึกษาเพื่อทราบ สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงาน และปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
- ครูปรึกษาด้านการบัญชี (เป็นครูที่ปรึกษากลางของศูนย์บ่มเพาะฯ) มีหน้าที่ ดูแลให้คำปรึกษาในการจัดทำบัญชีของผู้ประกอบการ ให้คำปรึกษาและรับรองการจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน และรายงานทางการเงินอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกับผู้ประกอบการ ให้คำปรึกษาในการจัดสรรกำไรสุทธิของผู้ประกอบการ สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงาน และปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
- ครูที่ปรึกษาด้านการผลิต (เป็นครูที่ปรึกษากลางของศูนย์บ่มเพาะฯ) มีหน้าที่ ดูแลให้คำปรึกษาด้านการผลิตของผู้ประกอบการ สรุปผลและการรายงานผลการดำเนินงานปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
- ครูที่ปรึกษาด้านการตลาด (เป็นครูที่ปรึกษากลางของศูนย์บ่มเพาะฯ) มีหน้าที่ ดูแลให้คำปรึกษาด้านการตลาดของผู้ประกอบการ สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงานปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
- ครูที่ปรึกษาด้านการจัดการ(เป็นครูที่ปรึกษากลางของศูนย์บ่มเพาะฯ) มีหน้าที่ ดูแลให้คำปรึกษาด้านการจัดการของผู้ประกอบการ สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงานปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
- คณะกรรมการฝ่ายนวัตกรรม มีหน้าที่ ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เข้ารับการบ่มเพาะแสวงหา และพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ เพื่อนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงาน และปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่สถานศึกษามอบหมาย
- คณะกรรมการฝ่ายธุรการ มีหน้าที่ จัดระบบงานทางด้านสารบรรณ และเอกสารภายในหน่วยงาน จัดทำเอกสารเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การเบิกจ่ายเงินงบประมาณรวบรวมระเบียบข้อบังคับของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สถานศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน ให้บริการด้านเอกสาร แบบพิมพ์ เครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ ที่ศูนย์บ่มเพาะฯ ให้บริการกับผู้เข้ารับการบ่มเพาะ สรุปผล และรายงานผลการดำเนินงานและ ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย